การให้บริการเขียนบทความในแต่ละแพลทฟอร์มแตกต่างกันอย่างไร

September 2, 2023 0 Comments

การเขียนบทความในแต่ละแพลทฟอร์มมักจะมีความแตกต่างกันออกไปด้วยสาเหตุจาก พฤติกรรมของผู้ใช้งานในแต่ละแพลทฟอร์ม ลักษณะอุปนิสัยตามนิสัยของแบรนด์และจุดประสงค์ในการใช้งาน ดังนั้นการที่จะบริการเขียนบทความให้ได้ดีจำเป็นต้องมีการคิดการณ์ไกลถึงสถานที่ที่เราจะนำบทความไปแสดง วันนี้เราจึงมาให้ความรู้เล็กๆน้อยๆสำหรับแต่ละทริควิธีการในการเขียนแต่ละแพลทฟอร์มให้ดียิ่งขึ้น 

  • Websites Blog : การเขียน Blog ในเว็บไซต์มักจะมีความยากที่มากขึ้นได้ พร้อมทั้งยังสามารถเจาะประเด็นรายละเอียดได้มากขึ้นทำให้การเขียนคลอมคลุมได้มากกว่าการเขียนในรูปแบบอื่นๆ สามารถอธิบายพร้อมหลักฐานสนับสนุนอื่นๆได้มากขึ้น เราสามารถนำรูปภาพ Infographic วิดิโอมาคั่นระหว่าง Blog ได้มากขึ้น
  • Backlink content จากเว็บไซต์อื่นๆ : การที่ผู้ให้บริการเขียนบทความจะนำคอนเท้นต์จากแบรนด์ของลูกค้าไปใส่ในเว็บไซต์อื่นๆเพื่อทำ Hyperlink กลับมาที่เว็บไซต์เรานั้นเป็นส่วนสำคัญมากๆในการทำ SEO ให้ ranking ของเว็บไซต์ลูกค้าสูงยิ่งขึ้นและทำให้เว็บไซต์มีการมองเห็นและมีความน่าเชื่อถือมากขึ้น แต่การจะเขียนคอนเท้นต์นั้นต้องมีความเชื่อมโยงกับลักษณะของเว็บไซต์ที่เราไปฝากไว้ เช่นหากเป็นเว็บไซต์ข่าวรถยนต์แล้วเราจะนำข่าวเครื่องสำอางที่เราต้องการจะขายไปฝากไว้กับเว็บไซต์ประเภทนี้ก็จะไม่สามารถเชื่อมโยงกันได้ เพราะผู้ชมในเว็บไซต์รถยนต์มีลักษณะที่แตกต่างมากเกินไป และ จะทำให้เว็บไซต์นั้นๆสูญเสียความน่าเชื่อถือและอัตลักษณํของแบรนด์ด้วย แต่ถ้าหากเป็น ประกันรถยนต์ในเว็บไซต์ข่าวรถยนต์ก็มักจะเหมาะสมมากกว่า
  • Facebook : การโพสต์ในเฟสบุคมักจะมีลักษณะที่กลางๆไม่ได้สั้นมากเกินไปเหมือน Twitter แต่ก็ยาวไม่ได้เท่าการเขียนในเว็บไซต์ แต่ข้อดีก็คือเรามักจะมี follower หรือเพื่อนที่มีการเชื่อมโยงกันอยู่แล้วทำให้การเขียนมักจะเป็นกันเองได้มากขึ้นกว่าเดิมทั้งการใช้คำศัพท์และการสื่อถึงอารมรณ์ นอกจากนั้นยังมีพื้นที่ที่ผู้อ่านสามารถแสดงความคิดเห็น แชร์ หรือ กดไลค์ได้ ทำให้มีการร่วมแสดงอารมณ์และความรู้สึกได้มากขึ้น ทำให้ผู้บริการเขียนบทความ สามารถใช้ความคิดสร้างสรรค์ในการสร้างคอนเท้นต์ที่มีการใช้คำที่สื่อสารอารมณ์ได้มากขึ้น
  • X : X หรือ Twitter ที่เราเคยรู้จักกันและถูกเปลี่ยนชื่อโดย CEO ใหม่ Elon Musk ซึ่ง Xเป็นหนึ่งในแพลทฟอร์มที่โพสต์ได้มากที่สุดเพียง 280 คำเพราะ X ต้องการให้การสื่อสารกระชับและสร้างสรรค์โดยไม่ต้องใช้เวลาในการอ่านมากเกินไป ทำให้มีความกระชับและเข้าถึงประเด็นได้รวดเร็ว และ ยังทำให้ผู้อ่านมีเวลามากขึ้นในการอ่านบทความอื่นๆได้จำนวนมากขึ้น และการเขียนบทความใน X มักจะเรียลไทม์มากกว่าแพลทฟอร์มอื่นๆด้วยการใช้แฮชแท๊กทำให้มีการแบ่งประเภทที่ชัดเจนและสามารถติดตามเทรนด์ฮิตผ่านแฮชแท๊กได้รวดเร็ว ดังนั้นการเขียนตามเทรนด์ใน X ก็ทำได้มีประสิทธิภาพมากขึ้น ผู้ให้บริการเขียนบทความจึงสามารถใช้เทรนด์ที่มาใหม่ ในการเขียนคอนเท้นต์เพื่อให้ viral ได้ดี
  • LinkedIn : แพลทฟอร์มนี้มักจะมีความเป็นทางการและความเป็นมืออาชีพมากกว่าแพลทฟอร์มอื่นๆ เนื่องด้วยผู้อ่านและผู้ใช้งานเว็บไซต์ที่มักจะเป็นผู้ทำงานและหางานในเว็บไซต์ และคอนเท้นต์ส่วนใหญ่ที่ถูกเผยแพร่ก็มักจะมีลักษณะเกี่ยวกับ ธุรกิจ วงการธุรกิจที่เฉพาะเจาะจง หรือ คำแนะนำทางด้านเส้นทางอาชีพ หรือ คำแนะนำด้านการเรียนหรือพัฒนาความรู้ความสามารถอื่นๆ ทำให้การเขียนแลกเลือกใช้ LinkedIn ต้องมีการเช็คให้ดีว่าเหมาะสมกับเนื้อหาที่เราจะโพสต์ไหม พร้อมทั้งตรวจสอบคำและอารมณ์ที่สื่อสารให้ดี